Blue light update in 2023

Blue light update in 2023

**Key message**

  • Blue light จากหน้าจอ ทำให้นอนหลับยากขึ้น
  • ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ยืนยันว่า blue light จากหน้าจอ ทำให้จอประสาทตาเสื่อมหรือก่อโรคทางตาอย่างถาวร

Blue light คืออะไร?

Blue light คือช่วงแสงสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นช่วงความถี่แสงที่เรายังมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือ visible light

(Visible light เรียงจากพลังงานสูงไปต่ำ แบบง่ายๆ: ม่วง-คราม-น้ำเงิน-เขียว-เหลือง-แสด-แดง หรือเป็นสีของรุ้งที่เรามองเห็นนั่นเอง 🌈) 

แหล่งกำเนิดที่มากที่สุดของ blue light ก็คือแสงอาทิตย์

ส่วนหน้าจอ digital device ต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ tablet หรือจอคอมพิวเตอร์ มีปริมาณ blue light ไม่มาก

ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ยืนยันว่า blue light จากหน้าจอ digital device ทำให้จอประสาทตาเสียหาย

แท้จริงแล้ว blue light มีทั้งประโยชน์และโทษ เช่นเดียวกันกับรังสี UV 

ข้อดีของ blue light คือ

  • ช่วยปรับ circadian rhythm (นาฬิกาชีวิต) ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากได้รับแสงสีฟ้าที่เพียงพอในช่วงกลางวัน
  • ช่วยลดภาวะซึมเศร้า ทำให้ร่างกายกระปี้กระเปร่า
  • และยังช่วยเรื่องพัฒนาการสำคัญต่างๆ ในวัยเด็กอีกด้วย

ส่วนข้อเสียของ blue light จากหน้าจอต่างๆ คือ รบกวนวงจรการนอน-การตื่น (Circadian rythm) ของเรา ทำให้หลับยากขึ้น เพราะร่างกายรับรู้ว่าเวลานี้เป็นเวลากลางวัน เสมือนว่ายังมีแสงอาทิตย์อยู่

แต่สิ่งที่ก่อโรคทางตาอย่างแน่นอนคือ รังสี Ultraviolet (UV) ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือ การป้องกันรังสี UV โดยการเลือกใช้เลนส์ที่ป้องกัน UV ได้ 99-100% จะเป็นเลนส์ใสหรือสีเข้มก็ได้ ส่วนเรื่องเลนส์กัน blue light เป็น option เสริมที่จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขึ้นกับ lifestyle และการใช้งานในชีวิตประจำวันของแต่ละคน

ดังนั้นการใช้หน้าจอ ถ้ามองชัดปกติ และไม่ได้ใช้หน้าจอติดต่อกันเป็นเวลานานมากเกินไป แนะนำปรับแสงที่หน้าจอ smart phone/tablet ให้เป็นโทนอุ่นมากขึ้น หรือ set night shift mode หลังจากดวงอาทิตย์ตกดินไปแล้ว จะช่วยลด blue light จากหน้าจอลงได้ ร่วมกับการงดใช้ digital device อย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน จะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น และเน้นการพักสายตาตามกฎ 20-20-20 เป็นประจำ 

ส่วนที่สำคัญคือเวลาออกกลางแจ้งหรือโดนแดด อันนี้จำเป็นต้อง UV Protection ดีๆ ค่ะ

แล้วพบกันที่ร้านค่ะ

หมอฝ้าย จักษุแพทย์ 

Dr.Fine, M.D. Ophthalmologist  

บทความนี้อ้างอิงจากราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย และ American Academy of Ophthalmology (AAO) ,เวปไซต์จากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และโรงพยาบาลตา หู คอ จมูก

For more information, please visit these links

https://www.aao.org/eye-health/tips-prevention/are-computer-glasses-worth-it

https://www.aao.org/eye-health/tips-prevention/should-you-be-worried-about-blue-light

https://www.aao.org/eye-health/news/smartphone-blue-light-is-not-blinding-you

https://www.aao.org/eye-health/tips-prevention/should-you-use-night-mode-to-reduce-blue-light

https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/august-2020/blue-light

https://eent.co.th/articles/050/

July 11, 2023

Share this article :

Copied